เสิร์ชหา....สูญหาย
รีวิว Searching - เสิร์ชหา....สูญหาย
หนังเรื่องนี้ตอนได้ดูตัวอย่างครั้งแรก ทำให้เรานึกถึงหนังที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเหมือนกันอย่าง Unfriend (2014) ที่ณ ตอนนั้นที่หนังเรื่องนี้เข้า ถือว่าแปลกใหม่ และสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับคนดูได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ตในปีเราก็ได้เห็นหนังที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบเดียวกันกับ Searching เสิร์ชหา...สูญหาย รีวิว Searching
เรื่องย่อ
บางครั้งการค้นหาความจริง แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับเป็นคำถาม? หลังจากที่ลูกสาววัย 16 ปีของเขาหายตัวไป ผู้เป็นพ่อผู้เศร้าโศกจึงพยายามเจาะเข้าไปในโน๊ตบุ๊คลูกสาวของเขาเพื่อหาเบาะแสและตามตัวเธอให้เจอ
หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของครอบครัว Kim ที่สูญเสียผู้เป็นแม่ไป David Kim ผู้เป็นพ่อ ต้องเลี้ยงลูกสาว Margot Kim ด้วยตัวคนเดียว แต่อยู่มาวันนึงลูกสาวได้หายตัวไป ทำให้ผู้เป็นพ่อต้องสืบเสาะตามหาลูก ด้วยการหาเบาะแสต่างๆ ผ่านทางโลกออนไลน์
ชีวิตของ เดวิด คิม (จอห์น โช) แทบมืดแปดด้านหลังการหายตัวไปของ มาร์ก็อต (มิเชล ลา)ลูกสาวสุดที่รัก และเบาะแสที่ดีที่สุดอยู่ในประวัติการออนไลน์และติดต่อบรรดาเพื่อนๆของเธอ ที่เขาอาจได้ค้นพบอีกด้านว่าลูกสาวที่เขาเลี้ยงอาจไม่ได้บริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างที่คิด
ทั้งฟอร์มในการเสนอผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์และปริศนาคนหาย ภาพของหนังเมื่อ 4 ปีก่อนอย่าง Unfriended (2014) ก็แจ่มชัดทันทีและพาลให้นึกไปทางลบว่าหนังคงทำออกมาตามกระแสให้ตระหนักถึงภัยโซเชียลเน็ตเวิร์คและมีจุดหักมุมกันตามคาด แต่กลับตรงกันข้ามบทหนังที่ เซฟ โอฮาเนียน (Sev Ohanian) เขียนร่วมกับ อานีช ชากันที (Aneesh Chaganty)
ผู้กำกับก็วางปมและจุดหักมุมต่างๆอย่างรัดกุมจนทำให้ตลอดเวลา 102 นาทีของหนังแทบไม่มีจุดน่าเบื่อโดยสามารถดึงเบาะแสดิจิตอลหรือ ดิจิตอลฟุตปรินต์ (Digital Footprint) ของมาร์ก็อตออกมาสร้างความประหลาดใจและนำไปสู่จุดหักมุมได้เป็นอย่างดี แถมการเก็บสิ่งที่ปูไว้หรือเบาะแสที่หนังแอบเผยไต๋มาทดสอบความจำคนดูก็ทำได้กลมกล่อมพอดี เรียกได้ว่าหนังสามารถอุดช่องโหว่ต่างๆได้แบบแนบเนียน และยังหลอกทางคนดูได้ว้าวดีเหลือเกินอีกด้วย
จุดที่ผมชอบเป็นพิเศษคงหนีไม่พ้นการใช้ฟังก์ชั่น ‘เล่าเรื่องผ่านจอ’ ที่แม้หนังจะมาหลัง Unfriended หรือ Friend Request แต่ Searching กลับสามารถใช้กลไกของหน้าจอคอมในหลากหลาย OS เพื่อแบ่งยุคสมัยได้อย่างชาญฉลาดดีเหลือเกิน โดยหน้าจอ Window 95 ใช้บอกช่วงปีเกิดของ มาร์โกต์
ตั้งแต่ฉากเปิดเรื่องที่หนังใช้ฟังก์ชั่นวันที่และบันทึกเมโม่บนหน้าจอเดสก์ทอปของคุณแม่ที่จดบันทึกทุกอย่างของลูกสาวเป็นการบอกเล่าความเป็นมาของตัวละครที่มีความละเอียดและรู้จักลูกสาวตัวเองดี ทั้งเบอร์โทรติดต่อเพื่อนสนิท วีดีโอบันทึกเหตุการณ์สำคัญของมาร์โกต์ ซึ่งหนังใช้จังหวะแช่มช้าแบบความเร็วคอมพิวเตอร์สมัยก่อนมาบอกช่วงเวลาอันสุขสันต์ ที่่ต่อมามันได้กลายเป็นเบาะแสสำคัญของเดวิดในการตามหาลูกสาว
ส่วนเรื่องราวในปัจจุบันจะบอกเล่าผ่าน Mac OS ที่ตรงนี้คงต้องบอกว่าทาง SONY ใจกว้างเหลือเกินที่จะให้อิสระผู้กำกับได้บอกเล่าไอเดียตัวเองแทนที่จะยัดเยียดขายของ SONY และแน่นอนว่าด้วยความคุ้นเคยของคนดูเลยทำให้เรื่องราวดูน่าเชื่อถือ และหนังก็เลือกฟังก์ชัน เฟสไทม์
และการโทรศัพท์ผ่าน IPhone ในการแสดงให้เห็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร โดยมีการใช้ฟังก์ชันของโปรแกรมต่างๆบนหน้า เดสก์ทอป ในการให้ข้อมูล และด้วยคาแรกเตอร์ของตัวละครพ่อที่มีความลนลานและหวาดหวั่นในความปลอดภัยของลูก เราเลยได้เห็นการปิดหน้าต่างโปรแกรมโน้น เปิดโปรแกรมนี้ สร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทึก ได้ด้วยจังหวะเปิดปิดบนหน้าจอคอม
และยังได้รับข้อมูลชุดเดียวกับตัวละคร โดยไล่ตั้งแต่ Mac Book ของเดวิดที่แสดงให้เห็นว่าเขาแทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับลูกสาวเลย จนกระทั่งต้องเปิด Mac Book ของลูกสาวเพื่อหาเบาะแสสำคัญก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
และทีละน้อยเมื่อหนังเล่นกับการคอมโพสผ่านภาพจอผ่านกรอบมันยังผลักผู้ชมให้กลายเป็นผู้สังเกตการณ์ที่เหมือนได้สิทธิพิเศษในการ ‘เผือก’ เรื่องดราม่าของตัวละครในระยะประชิด ส่งผลให้แทนที่คนดูจะรู้สึกแปลกปลอมกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ในโรงหนังกลับกลายเป็นว่า เราได้สัมผัสเรื่องราวที่มีชีวิตมีเลือดเนื้อของพ่อที่พยายามสุดหัวใจในการตามหาลูกอย่างไม่ลดละ ซึ่งพลังส่วนใหญ่ก็มาจากการแสดงของจอห์น โช นั่นเอง
ยอมรับเลยว่าสิ่งที่สะดุดตาเป็นอย่างยิ่งในบรรดาหนังที่เข้าในสัปดาห์นี้ (23 สิงหาคม 2561) คือ Searching เป็นหนังอีกเรื่องนอกจาก Crazy Rich Asians (หนังรักนางซินหน้าหมวยที่ถล่มบ็อกซ์ออฟฟิศพร้อมกวาดคำชมแบบม้ามืด) ที่เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญเมื่อฮอลลีวูดเริ่มให้โอกาส คนเอเซีย รับบทนำ
โดยหนังได้ จอห์น โช จากหนังชุด Star Trek ฉบับรีบูธของ เจ เจ เอบรามส์ มาเป็นจุดขายและปล่อยพลังการแสดงจนนักวิจารณ์ต้องยกนิ้วให้ โดย จอห์น โช สามารถก้าวข้ามทั้งบทนักแสดงตลกลูกครึ่งเอเซียใน Harold & Kumar และบท ซูลู จากสตาร์เทรค แบบแทบเปลี่ยนเป็นคนละคน
ทั้งการวางสีหน้าที่ลำดับความวิตกกังวลจากสงสัยไปจนถึงคร่ำเคร่งกับการตามเบาะแสเพื่อค้นหาลูกสาว ไปจนถึงการระเบิดอารมณ์ต่างๆก็ทำได้น่าเชื่อถือจนเป็นภาพแทนของคุณพ่อที่ชีวิตนี้คงจบสิ้นทันทีหากลูกสาวเป็นอะไรไปโดยฟอร์มหนังไอเดียจัดจ้าน หรือ ขนาดจอภาพไม่ได้เป็นปัญหาบดบังแอ็คติ้งอันยอดเยี่ยมของเขาได้เลย
วิจาร์ณ
หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของครอบครัว Kim ที่สูญเสียผู้เป็นแม่ไป David Kim ผู้เป็นพ่อ ต้องเลี้ยงลูกสาว Margot Kim ด้วยตัวคนเดียว แต่อยู่มาวันนึงลูกสาวได้หายตัวไป ทำให้ผู้เป็นพ่อต้องสืบเสาะตามหาลูก ด้วยการหาเบาะแสต่างๆ ผ่านทางโลกออนไลน์
หนังเล่าเรื่องได้ไร้ที่ติสุดๆ จุดที่ชอบมากๆ ของหนังเรื่องนี้คือ ตั้งแต่การเปิดเรื่องด้วยการใช้ Window 95 บอกเล่าเรื่องราวของครอบครัวนี้ตั้งแต่ Margot เกิด จนเปลี่ยนผ่านยุคเป็น OS ซึ่งเป็นการเล่าไทม์ไลน์ได้ชาญฉลาดสุดๆ หนังใช้ทุกฟังก์ชั่นของเทคโนโลยีและโลกออนไลน์ได้คุ้มมาก ใช้แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูลดูหนัง HDใน Google เล่น facebook ใช้ facetime เปิดหาข่าวสารตามเว็บต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมาย หนังใช้การเล่าเรื่องผ่านจอได้สุดยอดมากๆ แต่ละฉากนี่แบบนึกในใจ “เห้ย สุดยอด เจ๋งมาก”
นอกเหนือจากเทคนิคการเล่าเรื่องผ่านจอแล้ว หนังยังมีบทที่น่าสนใจ ที่แยบยล ทำให้เรานึกถึงหนังอย่าง Gone Girl ในอีกรูปแบบได้เลยก็ว่าได้ ชอบตรงที่หนังสามารถใช้เรื่องราวมาร้อยต่อกับการเล่าเรื่องผ่านจอได้อย่างยอดเยี่ยมสุดๆ คือทุกอย่างดูไหลลื่น ไม่น่าเบื่อเลย ตลอดทุกนาที ทำให้คนดูเอะใจ สงสัย สะเทือนใจ ตื่นเต้น ลุ้นไป และคาดเดาอะไรไม่ได้เลย
มันทำให้หนังถ่ายทอดสดดูน่าเชื่อถือมากขึ้น ด้วยการแสดงต่างๆ แม้กระทั่งการเคลื่อนไหวของเมาส์ การเลื่อนจอ ปิดนู่น หานี่ พิมพ์นั้น ตอบนี่ ทำให้เราได้รู้สึกถึงอารมณ์ ของตัวละครนั้นๆ และการที่เล่าเรื่องผ่านหน้าจอเดสท็อป มันเหมือนกับเรากำลังนั่งสืบสวน เสาะหา และทำมันร่วมไปด้วยกับตัวละครนั้นๆ อยู่จริงในขณะนั้นเลย จุดนี้ต้องชมพระเอกของเรื่องอย่าง John Cho ที่บอกว่าเอาหนังอยู่จริงๆ ทั้งการแสดงอารมณ์ สีหน้า ท่าทาง ทำได้น่าเชื่อถือสุดๆ จนทำให้คนดูอย่างเราเชื่อได้เลยว่า เขารู้สึกแบบนั้นจริงๆ
ประเด็นของครอบครัวก็ยังเข้มข้น ความรัก ความสัมพันธ์ ความผูกพันธ์ การเลี้ยงดูลูกด้วยตัวคนเดียว ก็ยังสื่อออกมาได้ดีมากๆ เช่นกัน ข้อเสียเดียวของเรื่อง ไม่สิ มันน่าจะเป็นข้อเสียดายที่เราอยากให้หนังมีสักหน่อย คือการเฉลยจุดของหนัง อยากให้เห็นเหตุการณ์ “นั้น” ผ่านทางมือถือหรือจอคอมก็ว่าไป นอกเหนือจากนั้นบอกเลยมันลงตัวและ PERFECT! มาก
ใครจะไปดูไม่ต้องไป Search หาข้อมูลรีวิวหรืออะไรจากไหนละ ไปซื้อตั๋วดูเลย ณ บัดนาว เป็นเรื่องที่ชอบที่สุดในสัปดาห์นี้แล้ว รองลงมาจาก Crazy Rich Asians หนังทำได้ดีกว่าหนังแนวๆ เดียวกันมากๆ ดีกว่าทั้ง Unfreind (2016) และ Friend Request (2016) ห้ามพลาดเด็ดขาด!!!
สรุป
หากใครกังวลว่า Searching จะเป็นหนังไซเบอร์ทริลเลอร์ที่ดูยากขอบอกเลยว่า ตัวหนังไม่ได้เอาเทคโนโลยีมาตีหัวเข้าบ้าน เพราะเอาเข้าจริงตัวหนังเองกลับเลือกนำเสนอเรื่องราวสามัญทว่าสัมผัสใจดีเหลือเกินทั้งความรัก ความห่วงใย และช่องว่างระหว่างวัยในครอบครัวท่ามกลางวิกฤติการหายตัวไปของคนสำคัญในครอบครัว และแน่นอนว่านอกจากหนังจะเล่าได้สนุกมากๆแล้ว ใครมีลูกสาวยิ่งต้องแนะนำให้มาดูเพราะเหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดกับใครก็ได้
Comments