top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนattempt pai

The Cave

นางนอน

รีวิว The Cave นางนอน



เรื่องย่อ 

สร้างจากเหตุการณ์จริง “ภารกิจถ้ำหลวง” บอกเล่าเรื่องราวที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อนผ่านมุมมองของอาสาสมัครที่ต้องเผชิญหน้ากับความเป็นความตายของหมูป่าทั้งสิบสามคน ความเสียสละและความมุ่งมั่นของพวกเขา เพียงเพื่อช่วยเหลือทั้ง 13 คนให้รอดปลอดภัยไม่ว่าจะอันตรายเพียงใดก็ตาม รีวิว The Cave นางนอน  ดูหนังออนไลน์


เวลาผ่านไปราว 1 ปี มีการเริ่มฉายภาพยนตร์ โดยผู้กำกับ ทอม วอลเลอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ลูกครึ่งไทย-ไอริช ที่มีผลงานการกำกับภาพยนตร์ไทยเรื่อง ศพไม่เงียบ (Mindfulness and Murder) และ เพชฌฆาต (The Last Executioner) ซึ่งคว้ารางวัลในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมาหลายรางวัล ได้รับความไว้วางใจให้มากำกับภาพยนตร์ภารกิจช่วยชีวิตซึ่งเป็นที่โจษจันในระดับโลกเรื่องนี้ ภาพยนตร์ นางนอน เริ่มเข้าฉายตามเทศกาลภาพยนตร์ในประเทศต่างๆ ส่วนประเทศไทยก็เริ่มเข้าฉายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562


ความที่ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวจากประเทศไทยที่คนไทย (และคนทั้งโลก) ให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด ดังนั้น หลังภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายจึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่มุมที่ดี เช่น ในที่สุดก็มีภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดปฏิบัติการครั้งประวัติศาสตร์นี้ไว้ และแง่มุมในอีกด้านที่เพจ facebook หรือผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคมออนไลน์หลายคนมองว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ระบบราชการไทยอย่างรุนแรง จนมีการแสดงความกังวลว่าภาพยนตร์เรื่องนี้อาจถูกห้ามฉายในประเทศไทย


โดยรวมแล้ว ภาพยนตร์เริ่มเล่าเรื่องราวเหตุการณ์หลังการซ้อมฟุตบอลของทีมหมูป่าและเข้าไปเที่ยวเล่นในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ไปจนถึงฉากสุดท้ายที่เป็นการช่วยชีวิตทุกคนที่ติดอยู่ในถ้ำได้อย่างปลอดภัย และทุกคนที่มีส่วนในภารกิจต่างแสดงความยินดีร่วมกัน


โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้มีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริงหลายคนมาร่วมแสดง ทั้งจิม วอร์นีย์ (Jim Warny) นักดำน้ำที่ภาพยนตร์วางบทบาทให้เป็นตัวละครสำคัญที่พาทีมหมูป่าออกมา, เอริก บราวน์ (Erik Brown) ครูสอนดำน้ำชาวแคนาดา ถันเซี่ยวหลง (Tan Xiaolong) ครูสอนดำน้ำในถ้ำชาวจีน และคนไทยอย่างนภดล นิยมค้า (ผู้ใหญ่ตุ้ม) ผู้ใหญ่บ้านเจ้าของเครื่องสูบน้ำจากจังหวัดเพชรบุรีที่เข้ามาเป็นหัวหน้าทีมสูบน้ำ และมีการพูดถึงจ่าแซม – นาวาตรี สมาน กุนัน ซึ่งในภาพยนตร์ได้ให้พื้นที่เล็กๆในการสดุดีเรื่องราวของเขาที่ได้สละชีวิตเพื่อภารกิจครั้งนี้


ปรากฏการณ์ระดับโลกที่เกิดขึ้นในไทยเมื่อปีที่แล้วในนาม ภารกิจช่วยทีมหมูป่าอะคาเดมี 13 ชีวิต ณ ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นสื่อภาพเคลื่อนไหวหลายต่อหลายชิ้น ทั้งรูปแบบสารคดี ที่ทั้งช่องโทรทัศน์ทั้งไทยทั้งเทศต่างแย่งกันนำเสนอ ตลอดจนฉบับภาพยนตร์บันเทิง (Fiction Film) ที่ค่ายต่าง ๆ รุมล้อมแย่งกันซื้อสิทธิ์ถ่ายทำ


จนในที่สุดก็มี 2 ค่ายสำคัญที่จะสร้างหนังจากเหตุการณ์ดังกล่าว คือมินิซีรีส์โดยเน็ตฟลิกซ์ที่เป็นเจ้าใหญ่ที่ดีลผ่านทางรัฐบาลไทย และอีกฉบับคือหนังยาวฉบับของผู้กำกับลูกครึ่งไทย-ไอริช นาม ทอม วอลเลอร์ (Tom Waller) ผู้เคยทำหนังอย่าง ศพไม่เงียบ Mindfulness and Murderer (2011) และ เพชฌฆาต The Last Executioner (2014) ไปล่ารางวัลมาหลายเวทีในระดับนานาชาติ ก็ล้วนถูกจับตามองไม่แพ้กัน

ด้วยความเป็นหนังที่ลงมือถ่ายทำฉับไวจากการเก็บเรื่องราวโดย แคทรินา กรอส (Katrina Grose) กับ ดอน ลินเดอร์ (Don Linder) สองนักเขียนบทที่เคยร่วมงานกับวอลเลอร์ในเพชฌฆาตมาแล้ว และหนังเรื่องนี้ก็จะออกฉายแซงหน้าฉบับของเน็ตฟลิกซ์เป็นเจ้าแรกของโลกด้วย


ซึ่งการทำงานเก็บข้อมูลของทีมสร้างนั้นก็ถือว่ารอบด้านหลากหลายมุมทีเดียว ทั้งมุมข้าราชการไทย มุมชาวต่างชาติที่พยายามเข้ามาช่วย ชาวบ้านที่ยอมเสียสละที่นาให้น้ำขัง ตลอดจนคนไทยที่เดินทางมาแสนไกลเพื่อช่วยเหลือแม้โดนกีดกันก็ตาม น่าเสียดายเพียงว่าด้วยตัวเรื่องที่มีรายละเอียดบุคคลและเหตุการณ์เยอะมาก ๆ


หนังจึงได้แต่จับนิดดึงหน่อยมาประกอบ ๆ เพื่อเล่า และทำให้สัดส่วนของแง่ลึกของตัวละครนำทั้งนักประดาน้ำที่เข้าไปช่วย หรือเหล่าเด็ก ๆ ที่ติดในถ้ำหลวงนั้น ออกจะผิวเผินไปสักหน่อย ยากที่จะทำให้คนดูอินเอาใจช่วยได้ และเหตุการณ์จุดเปลี่ยนสำคัญอย่างกรณีจ่าแซมก็ไม่คุ้มแก่เวลาที่เล่าเลยเพราะทำคนดูรู้สึกน้อยมาก จริง ๆ มันก็ลำบากกับการเล่าเรื่องที่คนดูรู้ดีอยู่แล้วทั้งอารมณ์ร่วมและรายละเอียดรายวันในช่วงเหตุการณ์จริงก่อนหน้านี้ แต่หนังมีเวลาจำกัดและผู้สร้างก็เลือกตัดตอนมาเล่าได้ไม่ดีพอเลยยิ่งไปกันใหญ่


ปัญหาใหญ่ของหนังที่ต้องพูดถึงอีกอย่างคือ แม้จะได้ตัวจริงเสียงจริงหลากหลายคนมาร่วมแสดงทั้ง จิม วอร์นีย์ (Jim Warny) ซึ่งเป็นนักดำน้ำชาวเบลเยียม เอริก บราวน์ (Erik Brown) ครูสอนดำน้ำชาวแคนาดา ถันเซี่ยวหลง (Tan Xiaolong) ครูสอนดำน้ำในถ้ำชาวจีน มิกโก พาซี (Mikko Paasi) นักดำน้ำชาวฟินแลนด์ และ นภดล นิยมค้า ผู้ใหญ่บ้านเจ้าของเครื่องสูบน้ำพญานาคจากจังหวัดเพชรบุรี

ที่ร่วมปฏิบัติการจริงมาแสดงเป็นตัวเอง และได้ แม่ครูจำปา แสนพรม จากกลุ่มสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนาตัวจริงมาร่วมถ่ายทอดจิตวิญญาณชาวเจียงฮายในฐานะชาวบ้านที่ยอมสละที่นาให้ระบายน้ำจากถ้ำ


ในด้านดีคือเราได้สัมผัสฮีโรตัวจริงมาปรากฏบนแผ่นฟิล์มทำให้คนที่รู้จักเรื่องราวดีติดตามใกล้ชิดรู้สึกถึงความสมจริง แต่ในแง่ร้ายของดาบสองคมนี้กลับเด่นชัดกว่าเพราะเมื่อไม่ใช้นักแสดงอาชีพมาเล่น

ก็ต้องยอมรับในขีดจำกัดการสื่อสารของตัวละครว่าคงจะเล่นอารมณ์ให้เข้าถึงหัวใจคนดูได้ยาก แน่นอนมีบางคนสอบผ่าน บางคนพอถูไถ และบางคนไม่อาจเล่นได้เลย แต่ทีมสร้างก็ดันทุรังผลักบุคคลตัวจริงเหล่านี้ให้ยิ่งมีบทเด่นบทนำเข้าไปอีก ทำให้กระแสการเล่าเรื่องที่เบาบางอยุ่แล้วยิ่งจืดจางทางอารมณ์เข้าไปอีกอย่างน่าเสียดาย


ด้านนักแสดงมืออาชีพชาวไทยก็มาร่วมโชว์ฝีไม้ลายมือกันทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่อย่าง เบสต์ เอกวัฒน์ นิวัฒน์วรปัญญา ในบทสำคัญ โค้ชเอก ก็ถือว่าพอมีฉากให้โชว์นิดหน่อย แต่อย่างว่าเพราะหนังไม่ได้เปิดโอกาสให้บทนี้จริงจังก็เลยจบไปแค่นั้น ส่วนดาราที่ไม่รู้เชิญมาทำร้ายทำไมนั้นก็คงต้องยกให้ นิรุตติ์ ศิริจรรยา ที่มีฉากปรากฏตัวอยู่ 2-3 วินาที ในบทข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สักคนที่เข้าพื้นที่ในวันแรก ๆ


ซึ่งหลังจากนั้นหนังก็ไม่กล่าวถึงอีกเลย เรียกว่าเสียของสุด ๆ พอมองในแง่นักแสดงแบบนี้ก็ต้องบอกว่าผู้กำกับเลือกแนวทางสายสารคดีมาผสมแนวเรื่องแต่ง แต่ก็กลับถูกวิสัยทัศน์ตัวเองทำลายงานตัวเองเสียฉิบ อาจเพราะชั่งจุดดีจุดเสียของการใช้ดาบสองคมนี้ไม่ขาดด้วย


สิ่งที่น่าชื่นชมสำหรับหนังเรื่องนี้ก็มีหลายส่วนเช่นกัน ทั้งการถ่ายภาพที่สมจริงแบบแฮนด์เฮลด์ราวหนังสารคดี ดั่งผู้ชมได้เข้าไปยืนไปคลุกวงในภารกิจอย่างใกล้ชิด มีการดีไซน์มุมกล้องที่น่าสนใจหลายครั้งและเหมาะสมกับฉากที่นำเสนอทั้งฉากการดำน้ำ ฉากเปลลำเลียงที่ถูกส่งออกไป และฉากโดรนต่าง ๆ ที่สวยงามแปลกตามาก ด้านเพลงเองก็มีการใช้แนวดนตรีไทยประยุกต์ได้อย่างหวนให้เข้าบรรยากาศแห่งการโดดเดี่ยวและถูกทอดทิ้ง เรียกว่าเพลงไทยขึ้นมาทีไรเป็นได้เด่นเข้าหูเสียทุกครั้งทีเดียว


และไม้เด็ดที่หนังทำออกมาได้เกือบดีมาก ๆ คือการแอบไปเสียดสีระบบราชการไทยที่ทุกคนรู้ดีทั้งขั้นตอนซับซ้อนเชื่องช้า ลำดับการให้ความสำคัญที่ดูไม่เข้าท่าไร้เหตุผลอยู่พอสมควร ประเด็นนี้หนังเอามาขยี้หลายครั้งทั้งผ่านสายตาอาสาสมัครชาวไทยเองและต่างชาติด้วย


โดยเฉพาะฉากของลุงนายกนี่ไม่รู้ว่าจงใจขนาดไหนแต่ดูจะมีอิมแพกต์ต่อคนดูได้มากทีเดียวทั้งผู้ชมชาวไทยและต่างชาติที่มาดูรอบสื่อ ไม่น่าเชื่อว่าลุงตู่ของเราเป็นคาแรกเตอร์ที่สื่อสารได้ในระดับสากลทีเดียว เป็นฉากที่น่าจดจำมากที่สุดฉากหนึ่งในหนังเลยล่ะ มาดูฉากนี้ฉากเดียวก็คุ้มนะ 555


ความรู้สึก

แม้เราจะทราบบทสรุปแล้วว่าผลของการช่วยเหลือนั้นเป็นอย่างไร แต่ในภาพยนตร์ได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวที่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ ของตัวละครที่ปรากฏในเรื่อง ทั้งทีมงานกู้ชีพจากหลากหลายประเทศที่ภาพยนตร์ได้วางบทบาทให้พวกเขาต้องสู้กับอุปสรรคในการช่วยเหลือที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา


ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่เนื่องจากเหตุการณ์การช่วยเหลือครั้งนี้ “ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและไม่มีทางเป็นไปได้” จึงทำให้พวกเขาต้องมาเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ต้องประเมินสถานการณ์และความเสี่ยงร่วมกันหลายต่อหลายครั้ง อีกทั้งการที่ภาพยนตร์วางตัวละครเอกอย่างนักดำน้ำ จิม วอร์นีย์


ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นฮีโร่ในภารกิจครั้งนี้ ให้ต้องต่อสู้กับตัวเองและความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ (ซึ่งต้องมีเป็นธรรมดาตามประสาปุถุชน) ตลอดจนเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นหลายครั้ง ก็ทำให้ผู้ชมต้องนั่งลุ้นในรายละเอียดว่าพวกเขาจะฝ่าสถานการณ์ยากลำบากเช่นนี้เพื่อนำพาทีมหมูป่าที่รอคอยอย่างมีความหวังออกมาได้อย่างไร

เหตุการณ์การช่วยชีวิตในถ้ำที่ภาพยนตร์นำเสนอน่าจะตรึงผู้ชมได้ดีเช่นกัน เพราะการออกแบบงานสร้างที่สมจริงดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้ผู้ชมรู้สึกอึดอัดกับบรรยากาศถ้ำที่คับแคบ และช่วงเวลาการนำตัวทีมหมูป่าออกมาซึ่งเปรียบได้กับเสี้ยวเวลาชีวิตแห่งความเป็นความตาย



อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อตำหนิระบบราชการไทยอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะการนำเสนอประเด็นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในเรื่องเท่านั้น จุดมุ่งหมายหลักของภาพยนตร์คือการบันทึกปฏิบัติการช่วยชีวิตอันน่าตื้นตันและจับใจคนทั้งโลกมากกว่า


ถ้าได้มีโอกาสรับชม ผมเชื่อว่าผู้ชมจะสามารถสัมผัสเรื่องราวความประทับใจที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของคนทั้งโลกอย่างจริงใจเพื่อช่วยเหลือและมอบความหวัง ให้เด็กติดถ้ำทั้ง 13 คนได้มีชีวิตอยู่ต่อไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์นี้ไว้ให้คนรุ่นหลัง นอกเหนือจากการให้ความบันเทิงได้เป็นอย่างดี


สรุป

ก็เป็นหนังที่ให้ความรู้สึกร่วมน้อยเหมือนดูสารคดีเหมือนดูข่าวที่จำลองเหตุการณ์ตามคำบอกเล่ามาตัดสลับรัดรวบย่อให้อยู่ในเวลาชั่วโมงครึ่งเสียมากกว่า พอดูได้แต่ให้ดีรอดูมินิซีรีส์ยาว ๆ กว่านี้น่าจะอินกว่า หนังออนไลน์

ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page