รีวิว Wet Season - ห้ามไม่ไหว หัวใจมันรักครู
ชื่อไทยว่า ห้ามไม่ไหว หัวใจมันรักครู เป็นหนังสิงคโปร์ที่ได้เข้าชิงรางวัลม้าทองคำถึง 6 สาขา (ชนะรางวัลในสาขานักแสดงนำหญิง) ถ้าดูตามตัวอย่างหนังจะว่าด้วยเรื่องรักต้องห้ามระหว่างครูและลูกศิษย์ แต่แท้จริงแล้วหนังมันมีประเด็นอะไร ๆ มากกว่านั้น รีวิว Wet Season
เรื่องย่อ
หลิง (เยียวหยานหยาน) เป็นครูโรงเรียนมัธยมปลายที่ชีวิตสมรสกับ แอนดรูว์ (คริสโตเฟอร์ ลี) และการงานไปด้วยกันไม่ได้ เพราะรู้ว่าตนเองไม่สามารถมีลูกได้ แต่แล้วนักเรียนหนุ่ม เหวยหลุ่น (โกเจียเล่อ) ที่เขาคิดว่าถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง ก็เข้ามาในชีวิตของเธอ ทั้งสองเริ่มผูกพันกันจนกลายเป็นรักต้องห้ามและเป็นความสัมพันธ์ที่ผู้หญิงอย่างหลิงจะจดจำไปตลอดชีวิต
แม้ประเทศจะใกล้กันแค่ไหน แต่เรากลับได้ดูหนังจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์น้อยมาก น้อยทั้งในเชิงปริมาณและน้อยกระทั่งข่าวที่ทำให้เรารับรู้ว่าวงการหนังของสิงคโปร์มีอะไรเคลื่อนไหวน่าสนใจบ้าง และไม่รู้ว่าบังเอิญหรือตั้งใจที่หนังอย่าง Wet Season ก็ดันมาเข้าฉายในไทยช่วงหน้าฝนอันแสนชุ่มช่ำพอดี
พร้อมจุดขายเล่าเรื่องราวร้อนแรงระหว่างครูสาวกับลูกศิษย์หนุ่มตามชื่อไทยบนหัวเรื่องของเรา ผลงานเรื่องล่าสุดของผู้กำกับหนุ่มชื่อดังของสิงคโปร์ "แอนโทนี เฉิน" มาพร้อมกับความละเอียดอ่อนในความสัมพันธ์อีกครั้ง แต่ครั้งนี้เพิ่มเติมคำว่า "ศีลธรรม" และ "จรรยาบรรณ" เข้ามาด้วย
หนังร่วมทุนระหว่างสิงคโปร์-ไต้หวัน ซึ่งเป็นโปรเจกต์การกลับมารวมกันอีกครั้งของทีมงานและนักแสดงจากภาพยนตร์ Ilo Ilo (2013) ที่เคยสร้างปรากฏการณ์คว้ารางวัลกล้องทองคำ (รางวัลใหญ่สำหรับนักทำหนังหน้าใหม่) ในเทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 2013 ไม่ว่าจะเป็น แอนโทนี่ เฉิน (ผู้กำกับและเขียนบท), เหวินฮงหวง(ผู้อำนวยการสร้าง), จีน่า หลิว(ผู้อำนวยการสร้าง)
และสองนักแสดงนำ เยียวหยานหยาน และ โคเจียเหลอ เตรียมถ่ายทอดแง่มุมความรักต้องห้ามต่างวัย แม้ดูหนังฟรีในวันที่สายฝนโปรยปรายก็มิอาจดับความผูกพันธ์อันร้อนแรงของคนทั้งคู่ ในหนังใหม่ล่าสุดจากทีมผู้สร้างหนังขวัญใจผู้ชมและนักวิจารณ์จากเทศกาลม้าทองคำ
หนังออกฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานานาชาติโตรอนโต ปี 2019 และเปิดฉายให้ผู้ชมทั่วไปได้ชมเป็นครั้งแรกที่สิงคโปร์ในเดือนพฤศจิกายนปี 2019 ก่อนกวาดรับคำชมจากนักวิจารณ์จนได้เข้าชิงรางวัลใหญ่หลายสถาบัน อาทิ Platform Prize รางวัลสำหรับผู้กำกับในเทศกาลหนังนานาชาติโตรอนโตปี 2019 และที่สร้างกระแสเป็นที่ฮือฮาอย่างมาก
คือเทศกาลหนังม้าทองคำ รางวัลสูงสุดสำหรับหนังพูดภาษาจีน โดยเข้าชิงทั้งหมด 6 สาขา ได้แก่ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (เยียวหยานหยาน), นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (โคเจียเหลอ และ หยางชี่พิน) และบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม ซึ่งสุดท้ายคว้ารางวัลสาขานักแสดงนำหญิงไปครองได้สำเร็จ
เนื้อเรื่อง
เริ่มเรื่องให้เราได้รู้จักตัวละครอย่าง หลิง (ยาน ยาน โหย่ว) ครูสาวชาวมาเลเซียที่มีหน้าที่สอนภาษาจีนในโรงเรียนมัธยมของสิงคโปร์ นอกจากชีวิตครอบครัวที่เธอถูกทิ้งให้ดูแลพ่อสามีที่เป็นอัมพาตแล้ว ที่โรงเรียนเองวิชาภาษาจีนที่เธอสอนก็กลับถูกเมินทั้งจากโรงเรียนและนักเรียนของเธอเองมีเพียง เว่ยหลุน (เจียเลอร์โคห์) นักเรียนหนุ่มนักกีฬาวูซูของโรงเรียนที่ตั้งใจอยากจะเรียนภาษาจีนจริง ๆ
เว่ยหลุน เขาเป็นเด็กนักเรียนเพิ่งแตกเนื้อหนุ่มมาไม่นาน พ่อแม่ของเขาต้องไปทำงานต่างประเทศ ทำให้เขาต้องถูกทิ้งให้อยู่ในเมืองใหญ่เพียงลำพังแบบไม่มีผู้ปกครอง เขาเรียนอยู่ห้องที่มีครูหลินเป็นครูประจำชั้น ความรู้สึกของเขาที่มีต่อครูพิเศษกว่าคนอื่นๆ ครูเป็นคนที่ทำให้เขามีแรงบันดาลใจและมุ่งมั่นในการศึกษา ไม่ว่าจะพยายามเรียนภาษาจีน ตั้งใจฝึกซ้อมกีฬาวูซูอย่างเต็มที่ เพียงเพื่อเขาอยากให้ครูภูมิใจ แม้ว่าความรู้สึกนี้จะเป็นสิ่งต้องห้ามและขัดต่อศีลธรรมในสังคมเป็นอย่างมาก
นั่นทำให้หลิงและ เว่ยหลุนสนิทกันจนถูกสังคมในโรงเรียนเพ่งเล็ง ในขณะที่หลิงต้องต่อสู้เพื่อให้เธอมีลูกกับสามีให้ได้ เธอก็ต้องพบกับจุดเปลี่ยนในชีวิตที่อาจทำให้เธอและเว่ยหลุนไปสู่จุดที่จรรยาบรรณความเป็นครูต้องถูกทดสอบ
ก่อนอื่นต้องขออนุญาตทำลายความคาดหวังของผู้ชมที่หวังจะได้ดูฉากเซ็กส์ร้อนแรงหรือเรื่องรักข้ามรุ่นอย่างที่ชื่อไทยชี้ชวน เพราะความจริงแล้วหนังเรื่องนี้ของแอนโธนี เฉินผู้เขียนบทและกำกับ (เคยมีหนังระดับรางวัลอย่าง ILO ILO (2013)) ตั้งใจบอกเล่าเรื่องราวการดิ้นรนของคนพลัดถิ่น
โดยผ่านตัวละครอย่าง หลิง ครูสอนภาษาจีนที่ข้ามฟากแดนจากมาเลเซียมาสิงคโปร์เพื่อมุ่งหวังชีวิตที่ดีกว่าแถมหนังยังให้ฉากหลังเป็นช่วงการประท้วงนายกรัฐมนตรีมาเลเซียที่เป็นแรงผลักอย่างหนึ่งที่ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเหมือนความหวังในชีวิตอันสุขสบาย
สิงคโปร์ใน Wet Season เป็นสังคมร่วมสมัยและพูดถึงปัญหาสังคมในแง่โครงสร้างครอบครัวคนจีน การศึกษาและความเหลื่อมล้ำเลื่อนลอยของพหุวัฒนธรรมในสิงคโปร์ ที่ในหนังเราจะได้เห็นครอบครัวของหลิงที่มีสามีอย่างแอนดรูว์ (คริสโตเฟอร์ หมิง-ฉุน ลี) นักธุรกิจหนุ่มที่ใช้ชีวิตนอกบ้านมากกว่าจะทำหน้าที่ “ผัว”แบบว่า ถ้าไม่มีทะเบียนสมรสคงบอกไม่ได้ว่าสองคนนี้แต่งงานกันหรือเปล่า
และกล่าวอย่างไม่เกินจริงเลยตามหลักฐานที่ประจักษ์คือเขาก็ยกหน้าที่ “ลูก” เต็มเวลาให้กับเมียอย่างหลิงในการดูแลพ่อที่เป็นอัมพาต ดังนั้นความหวังเดียวไม่ว่าจะมีพื้นฐานมาจากความรักหรือไม่แต่การมีลูกสำหรับหลิงเหมือนจะเป็นหลักประกันอันหนึ่งในการได้สัญชาติสิงคโปร์และเป็นใบเบิกทางให้ครอบครัวสามียอมรับเธอในฐานะสะใภ้ ไม่ใช่แค่คู่แต่งงานที่หวังสัญชาติแม้เธอจะสละเวลาเลี้ยงดูบิดาของพวกเขาดีแค่ไหนก็ตาม
ต้องยอมรับว่าประเด็นของหนังค่อนข้างน่าสนใจว่าจะนำเสนอออกมาเป็นอย่างไร แน่นอนว่าแค่ได้ยินโครงเรื่องว่าเป็นนักเรียนกับครูรักกัน ฟังดูก็ขัดศีลธรรมและออกมาเชิงลบอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่าหนังเลือกที่จะถ่ายทอดออกมาในด้านมุมมองของชีวิต เป็นการตีแผ่วิถีชีวิตของตัวละครในแต่ละวัน และปล่อยให้คนดูได้คิดตามและวิเคราะห์ไปเองว่าตัวละครนี้กำลังคิดอะไรอยู่ ผ่านทุกการกระทำของเขาทั้งหมด
ทัศนคติด้านครอบครัวของชาวสิงคโปร์
ในหนังจะทำให้เราเห็นถึงทัศนคติด้านครอบครัวของชาวสิงคโปร์ที่บูชาการมีเด็กเกิดใหม่มากกว่าความดีในแง่การดูแลผู้สูงอายุที่กำลังจะเป็นปัญหาสังคมของสิงคโปร์ต่อไป และไม่เพียงแค่นั้นเราจะได้ร่วมสังเกตการณ์การเสื่อมถอยของวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ถูกถ่ายทอดผ่านฉากที่พ่อสามีของหลิงมีชีวิตแต่ละวันอยู่แค่การนอน กิน ขับถ่าย
กับใส่ผ้าอ้อมและความสุขเดียวของเขาคือการดูหนังกำลังภายในเก่า ๆ ในทีวีเท่านั้นเอง ยิ่งตอนท้ายเราจะยิ่งได้เห็นทัศนคติของลูก ๆ ที่มีต่อพ่อในยามที่พวกเขาไม่ต้องมีภาระผูกพันอะไรแล้วที่ทำให้เห็นความแห้งแล้งและเย็นชาของครอบครัวที่ตัวเลขดูจะสำคัญกว่าหัวจิตหัวใจที่จะดูแลคนแก่คนหนึ่งอย่างน่าสังเวชใจ
ปัญหาของการเป็นประเทศพหุวัฒนธรรม
พ้นจากประเด็นครอบครัวแล้ว อีกปัญหาที่หนังหยิบยกมาพูดแบบอ้อม ๆ แต่เจ็บแสบอย่างยิ่งคือการยกปัญหาของการเป็นประเทศพหุวัฒนธรรมที่คนหลายเชื้อชาติอยู่ด้วยกัน แต่การศึกษาของสิงคโปร์ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้ากลับเลือกจะส่งเสริมปัญญาให้เด็กในแง่ศาสตร์ที่จำเป็นต่อผลลัพธ์ในแง่การประเมินการศึกษา นั่นทำให้ภาษาจีนที่หลิงสอนถูกมองว่าเอาใครมาสอนแทนก็ได้และเป็นทักษะที่ไม่มีความจำเป็นต้องพัฒนาให้เยาวชน
และเมื่อพิจารณาจากปมปัญหาทั้งหมดแล้วการที่หนังอย่าง Wet Season เลือกฤดูฝนเป็นฉากหลังก็ไม่ต่างจากสภาวะของปลาที่พยายามโผล่หน้ามาหายใจในสภาพสังคมที่บีบบังคับแบบนี้ทั้งหลิงที่เป็นคนต่างถิ่นและหาทางเอาตัวรอดในการใช้ชีวิต ส่วนครอบครัวสามีของเธอก็มุ่งจะเอาหนังออนไลน์ตัวรอดในด้านการเงินและหากไม่ตัดสินถูกผิด เว่ยหลุน เองก็ทำให้เราเห็นการโหยหาความรักและความอบอุ่นมาแทนพ่อแม่ที่ไม่เคยใช้ชีวิตอยู่กับเขาเพียงแต่ในบ่อปลาบ่อใหญ่นี้ห่าฝนก็ทำให้ทุกคน “จมจ่อม” และยากที่จะพ้นน้ำมาเห็นแสงตะวัน
นักแสดง
2 นักแสดงนำของเรื่อง อย่าง "ยาน ยาน โหย่ว" กับ "โก๊ะ เจีย เหลอ" ได้โคจรกลับมาเจอกันอีกครั้ง หลังจากที่มีเมื่อ 7-8 ปีก่อน พวกเขาเคยเล่นเป็นแม่ลูกกันในเรื่อง "Ilo Ilo" ของผู้กำกับคนเดียวกัน แต่ครั้งนี้จากแม่ลูกต้องมาเจอบทบาทที่เติบโตขึ้น กลายเป็นความรักต้องห้ามระหว่างครูกับนักเรียน แน่นอนว่าเราได้เห็นพัฒนาการทางการแสดงของ โก๊ะ เจีย เหลอ อย่างเด่นชัดมากๆ จากในเรื่องนี้
การแสดงของนักแสดงหลักทั้งสองทำออกมาได้ดี โดยเฉพาะ ยาน ยาน โหย่ว ที่ทำให้เราเห็นถึงความแตกร้าวในหัวใจของเธอ ไปจนถึงภาระอันหนักอึ้งที่เธอแบกรับอยู่ หากเปรียบเป็นฤดูฝนหนังเรื่องนี้คือมรสุมชีวิต ที่สาดกระหน่ำใส่ชีวิตของเธอไม่ยั้ง ไม่ใช่ฝนที่นำพาความชุ่มฉ่ำมาแต่อย่างใด แต่ในขณะเดียวกัน ฝนนี้อาจจะนำพาความชุ่มฉ่ำไปให้บางตัวละครได้บ้างเหมือนกัน
โดยรวม
หนังเรื่องนี้พูดถึงชีวิตครอบครัวที่มีปัญหาของเหล่าตัวละครหลัก ซึ่งมันก็เป็นแรงส่งที่ทำให้เกิดรักต้องห้ามได้ไม่ยาก ซึ่งมันไม่เพียงเป็นเรื่องของครูและลูกศิษย์ แต่ครูก็แต่งงานแล้วด้วย ทั้งนี้เมื่อดูจนจบแล้ว ก็คิดว่าหนังเรื่องนี้นำเสนอออกมาได้หม่นหมองพอสมควร การเดินเรื่องที่เนิบนาบกลับทำให้เราเข้าใจตัวละครมากขึ้นว่าแต่ละจุดของการตัดสินใจมาจากอะไร
สรุป
โดยสรุปแล้ว Wet Season ห้ามไม่ไหว หัวใจมันรักครู เป็นหนังที่ให้รสชาติที่กำลังกลมกล่อมพอดี อาจจะไม่ใช่จานอาหารที่อร่อยที่สุด แต่ก็ยังทานได้และย่อยได้แบบไม่เสียดท้อง หนังที่ใส่ความมนุษย์เข้ามาค่อนข้างมาก แต่ก็ลืมที่จะมองข้ามประเด็นทางศีลธรรมไป ด้วยเวลาที่จำกัดก็ถือว่าเป็นหนังดราม่าที่มีอานุภาพยิ่งใหญ่ แม้จะขัดต่อสังคมและความเหมาะสมอยู่มากก็ตาม
Comments