รีวิว Snowpiercer - ปฏิวัติฝ่านรกน้ำแข็ง
ซีรีส์จากภาพยนต์ดังในชื่อเดียวกันลงช่องเคเบิล TNT ของอเมริกา และ Netflix ซื้อสิทธิ์มาลงฉายทั่วโลกทุกวันจันทร์บ่าย 2 โมงเป็นต้นไป เวลาต่อตอน 45-55 นาที มีทั้งหมด 10 ตอนจบซีซั่นแรก (เตรียมทำ SS2 ต่อแล้ว) เรื่องราวแตกต่างจากภาพยนตร์เป็นคนละไทม์ไลน์กัน โดยเรื่องในซีรีส์เริ่มตั้งแต่แรก สำหรับคนที่ไม่ดูภาพยนตร์มาก่อนก็สามารถดูได้รู้เรื่อง แต่ใครที่ดูภาพยนตร์มาแล้วก็อาจจะแปลกใจกับหลายอย่างที่เปลี่ยน ในรีวิวนี้จะมีเทียบให้เห็นทั้งสองแบบครับ รีวิว Snowpiercer
Snowpiercer ดัดแปลงมาจากนิยายภาพของฝรั่งเศสเรื่อง “Le Transperceneige” ของ Jacques Lob และ Jean-Marc Rochette ตีพิมพ์เมื่อปี 1982 ซึ่งผู้กำกับบงจุนโฮเอามาดัดแปลงเป็นฉบับหนังในปี 2013 บอกเล่าเรื่องราวโลกในอนาคตที่กลายเป็นยุคน้ำแข็ง ผู้รอดตายกลุ่มสุดท้ายอาศัยอยู่บนรถไฟที่แล่นไม่มีวันหยุดที่ต้องแล่นตลอดเวลาไปบนรางรถไฟที่วิ่งรอบโลก ที่เนื้อหาถูกใจบงจุนโฮจนเอามาทำเป็นหนังก็เพราะเนื้อเรื่องนั้นมีจุดเด่นอยู่ที่การวิพากษ์ประเด็นชนชั้นทางสังคมเช่นเดียวกับที่ทำกับ Parasite (2019)
เรื่องย่อ
7 ปีผ่านไปหลังจากที่โลกทั้งใบกลายเป็นดินแดนเยือกแข็งอันรกร้าง และผู้คนที่เหลือรอดชีวิตต่างต้องอาศัยอยู่ในรถไฟ “สโนว์เพียร์ซเซอร์” ขบวนยักษ์ 1,001 ตู้ที่แล่นไปรอบๆ โลกอย่างไม่มีวันจบสิ้นโดยใช้พลังงาน “เครื่องจักรนิรันดร์” ขับเคลื่อนไปท่ามกลางสภาพอากาศที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง จนไม่มีสิ่งมีชีวิตใดสามารถอาศัยอยู่ข้างนอกได้ อย่างไรก็ตามภายในขบวนรถไฟก็เกิดเป็นสังคมใหม่ ที่มีการแบ่งแยกชนชั้นและริดรอนสิทธิของมนุษย์ และนั่นเองก็ทำให้การปฏิวัติจากชนชั้นล่างกำลังจะอุบัติขึ้น
กำลังจะได้ชมกันในวันที่ 25 พฤษภาคมที่จะถึงนี้แล้ว สำหรับซีรีส์รถด่วนขบวนสุดท้ายหลังโลกหายนะอย่าง Snowpiercer ที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ที่สหรัฐฯ ช่อง TNT ส่วนในบ้านเราได้ชมทางสตรีมมิง Netflix ซึ่งสำหรับหลายคนที่สงสัยว่า ฉบับซีรีส์นี้คือการนำฉบับหนังเมื่อปี 2013 มารีเมกใช่หรือไม่? เพราะดูจากตัวอย่างแล้วไม่เห็นตัวละครเดิม ๆ จากในหนังกลับมา วันนี้ What the Fact มีคำอธิบายมาบอกแล้ว นั่นคือซีรีส์ที่จะได้ชมนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนในฉบับหนัง หรือก็คือเหตุการณ์ในภาคต้นนั่นเอง
ซีรีส์ที่ทำมาจากภาพยนตร์ดังของผู้กำกับ Parasite Bong Joon Ho ที่พึ่งได้ออสการ์ไปหมาดๆ ตัวหนัง Snowpiercer ยึดด่วน วันสิ้นโลก ตอนนี้ในไทยดูผ่านลิขสิทธิ์เหลือของที่ monomax ที่เดียว (สมัครสมาชิกคลิกรับชมได้ที่นี่) ตัวเรื่องในภาพยนตร์คือ 17 ปีหลังจากรถไฟออกวิ่ง และก็เป็นเรื่องราวการปฏิวัติลุกฮือของท้ายขบวนมาด้านหน้า ในระหว่างทางก็จะได้พบกับตู้โดยสารที่แต่ละท่อนแบ่งเป็นสังคมแต่ละแบบ รวมถึงเป็นระบบนิเวศน์หล่อเลี้ยงชีวิตคนในรถไฟให้อยู่รอดได้ด้วย จุดเด่นของเรื่องคือการไขความลับว่าหัวขบวนมีอะไรรออยู่ และเจ้าของรถไฟนี้ที่ถูกเรียกว่า “คุณวิลฟอร์ด” คือใคร?
แต่ตัวซีรีส์ที่ทำออกมาใหม่เรื่องจะเริ่มต้นจากตอนแรกที่เริ่มขึ้นขบวนรถไฟ มีการขยายความเพิ่มนิดหน่อยว่าผู้โดยสารมาจากไหน และเป็นกลุ่มคนที่เป็นตัวการทำให้เกิดหายนะของโลกรวมอยู่ด้วย ตรงจุดนี้จะต่างจากในภาพยนตร์ที่มีบอกชัดว่าเกิดจากการใช้สารทำความเย็นเพื่อลดโลกร้อน แต่เข้าใจว่าอาจจะไม่อยากเอ่ยถึงเพราะปัญหาโลกร้อนเปลี่ยนแปลงไปจากตอนที่สร้างหนังเมื่อปี 2013 จากนั้นเรื่องก็กระโดดข้าม 7 ปีต่อมา
แล้วก็พยายามจะเดินตามรอยเดิมส่วนหนึ่งเรื่องการปฏิวัติ ที่ถอดแบบภาพยนตร์มาเลย และอีกส่วนก็คือเส้นเรื่องใหม่เกี่ยวกับคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในขบวนรถไฟของชนชั้นสูงด้านหน้า และก็ดึงตัวเอกจากท้ายขบวนมาเป็นนักสืบในคดีนี้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นความพยายามฉีกเรื่องราวออกไปได้ดี แต่ก็ทำให้มีปัญหากับคนที่ดูภาพยนตร์มาด้วยเช่นกัน เพราะอะไรหลายอย่างในอดีตดันไม่ตรงกับภาพยนตร์มาก จนเหมือนเป็นคนละเรื่องกันเลยในตอนนี้
สำหรับคนที่ไม่เคยดูภาพยนตร์มาก่อน น่าจะมีความสนุกอยู่ที่ได้เห็นการจำลองโลกดิสโทเปียนรกน้ำแข็งที่แปลกใหม่ ผสมกับส่วนสืบสวนหาฆาตกรในโลกไซไฟที่จำกัด ตัวเรื่องก็เผยเนื้อหาแต่ละตู้โดยสารไวหลายตู้ให้เห็นเยอะมากจนแทบจะหมดแล้ว
ต่างจากในภาพยนตร์ที่กว่าจะผ่านไปแต่ละตู้ค่อนข้างลำบาก และมีการขยายความเพิ่มว่าแต่ละตู้เป็นยังไงให้พอเข้าใจได้มากกว่าพอสมควร รวมถึงได้เห็นชีวิตคนที่ทำหน้าที่ในแต่ละตู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น จากที่ตัวภาพยนตร์เป็นเพียงแค่เดินผ่านเป็นส่วนใหญ่
ในส่วนปฏิวัติชนชั้นยังไม่เห็นอะไรมากนัก แต่เรื่องก็เผยให้เห็นรูปแบบเดียวกับภาพยนตร์ออกมาสั้นๆ ให้คนดูพอเข้าใจว่าต้องทำยังไงถึงบุกไปหัวขบวนได้ ในส่วนฆาตกรรมมีเรื่องราวเยอะกว่า และตัวซีรีส์จะสนใจเดินเส้นเรื่องนี้ตั้งแต่แรก
อาจจะเพราะเข้าใจว่าคนดูรู้อยู่แล้วว่ามีเวอร์ชั่นภาพยนตร์ที่เล่าไปไกลกว่าตอนจบในซีรีส์แล้ว เรื่องปฏิวัติชนชั้นที่ดูตอนนี้จึงไม่ได้จบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้งแน่ๆ ตัวพาร์ทฆาตกรรมมีเนื้อหาเชิงสืบสวนกึ่งไซไฟนิดๆ โยงถึงเรื่องปัญหาโลกดิสโทเปียในที่จำกัดในรถไฟ และก็โยงไปถึงเรื่องราวเกี่ยวพันกับความลับของบุคคลสำคัญในขบวนนี้
ตัวซีรีส์เปลี่ยนธีมการเล่าตั้งแต่แรกเริ่ม ตัวเรื่องก็ไม่อืด ออกแนวเรื่อยๆ มีปมนิดหน่อยพอให้น่าติดตาม มีแฟลชแบ็คกลับไปยังชีวิตตัวละครก่อนขึ้นรถไฟบ้าง เพราะเรื่องพึ่งเกิดหายนะได้ไม่ถึงสิบปีต่างจากในภาพยนตร์ที่ไปไกลกว่านั้น จนมีคนรุ่นที่เกิดบนรถไฟเป็นตัวละครหลักของเรื่องแล้ว (ในซีรีส์ยังไม่มีตัวละครแบบนี้ให้เห็นชัดเจน)
การเล่าเรื่อง
ตามไทม์ไลน์ของฉบับนิยายภาพนั้น เรื่องราวโลกล่มสลายเพราะอุณหภูมิโลกถึงจุดเยือกแข็งจนทำให้เมืองต่าง ๆ ในโลกกลายเป็นน้ำแข็งไปหมดนั้นเกิดขึ้นในปี 2014 รถไฟที่วิ่งด้วยพลังงานแม่เหล็กขบวนนี้สร้างขึ้นโดยวิศวกรชื่อ “วิลฟอร์ด” และมีการออกแบบแต่ละตู้ของรถไฟแบ่งตามชนชั้นวรรณะทางสังคมตั้งแต่รวยสุดไปจนยากจนสุด คนรวยอยู่โบกี้หน้าสุด ยากจนสุดอยู่โบกี้หลังสุด โดยเหตุการณ์ในซีรีส์ที่จะได้ชมกันนี้ จะเป็นเหตุการณ์หลังเหตุหายนะ 7 ปี
ส่วนเหตุการณ์ในฉบับหนัง ตอนต้นเรื่องได้บอกว่าเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นในปี 2031 หรือ 15 ปีหลังจากเหตุหายนะ Chris Evans รับบทเป็น “เคอร์ติส เอเวอร์เรต” ผู้โดยสารชนชั้นล่างที่บุกไปทวงถามความยุติธรรมจากวิศวกรผู้สร้างรถไฟอย่างวิลฟอร์ด (รับบทโดย Ed Harris) ที่อยู่โบกี้หัวขบวนหลังจากผู้โดยสาร 74% ของขบวนกำลังจะอดตายแต่พวกหัวขบวนยังคงอยู่กันอย่างสุขสบายดี ส่วนฉบับนิยายภาพนั้น มีบอกเล่าเหตุการณ์ตั้งแต่เกิดเหตุหายนะ ครอบคลุมไปจนถึง 17 ปีหลังเกิดเหตุ ซึ่งก็คือช่วงเวลาหลังฉบับหนังไปอีกนั่นเอง
นักแสดง
Snowpiercer ฉบับซีรีส์ยังคงได้บงจุนโฮกลับมารับหน้าที่อำนวยการสร้างร่วมกับ Graeme Manson จาก ซีรีส์ Orphan Black และ Flashpoint และได้นักแสดงเจ้าของรางวัลออสการ์จาก A Beautiful Mind (2001) อย่าง Jennifer Connelly มารับบทเป็น “เมลานี คาวิลล์” หัวหน้าเจ้าหน้าที่จอมโหดที่ดูแลผู้โดยสารชั้นหนึ่งที่หรูหราที่สุดของขบวน
Jennifer Connelly ต้องรับบทหนักเป็นหลายอย่างในเรื่องมาก เธอก็แสดงได้ดีสมกับที่เป็นนางเอกยอดฝีมือรุ่นเก่า ที่อายุปาไป 50 แล้ว แต่ยังสวยมีเสน่ห์ไม่เปลี่ยน และเธอก็เป็นตัวดึงดูดให้เรื่องน่าติดตามตลอดเวลา
สมทบด้วย Daveed Diggs นักแสดงเจ้าของรางวัลหนัง HDโทนีจากแวดวงละครเวที มารับบทเป็น “อังเดร เลย์ตัน” อดีตตำรวจนักสืบที่เป็นชนชั้นต่ำสุดในขบวนรถไฟขบวนนี้ และได้ถูกตามตัวให้มาสางคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในรถไฟ
เทียบจุดเปลี่ยนของซีรีส์กับภาพยนตร์
ตัวเรื่องที่เปิดมาเป็นแนวสืบสวนหาฆาตกรในรถตอนแรกจบลงอย่างรวดเร็วที่ตอน 4 และเริ่มเผยให้เห็นความเกี่ยวโยงกับตัวภาพยนตร์ ผ่านแคปซูลข้อความที่ซ่อนไว้ในแท่งเจลอาหารสีดำแบบในภาพยนตร์ รวมถึงความลับของวิลฟอร์ดในซีรีส์ที่น่าจะมีอะไรมากกว่าที่เห็นอีก
และตามสื่อวงในบอกใบ้ไว้ว่าตอนจบซีซั่นตัววิลฟอร์ดจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้อีก ก็น่าจะทิศทางซีรีส์เริ่มกลับมาแนวปฏิวัติชนชั้นอีกครั้งแบบเว็บสตรีมหนังในภาพยนตร์ แต่ต้องดูว่าจะเคลียร์ปมอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกันไปได้อย่างไร
แต่จากตอนนี้ค่อนข้างยืนยันได้ว่าตัวซีรีส์เป็นไทม์ไลน์เดียวกับตัวภาพยนตร์ค่อนข้างแน่นอน แต่อาจจะใช้การทำใหม่ทับของเดิมไปในตอนหลัง รวมถึงไอเดียของทางช่อง TNT ที่หาทางเล่นเรื่องต่อจากตอนจบภาพยนตร์ไปได้อีกครับ
เพิ่มเติมจากภาพยนตร์
*เนื้อหาส่วนนี้เฉพาะจุดที่ภาพยนตร์กับซีรีส์ตรงกัน และซีรีส์ขยายส่วนเสริมเหล่านี้ให้ชัดเจนขึ้นครับ ส่วนที่ไม่ตรงกันอย่างตัวขบวนรถไฟขอละไว้ก่อน เพราะซีรีส์อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปเชื่อมกับภาพยนตร์ในภายหลังครับ
ที่มาของยาเสพติดโครโนลจากในภาพยนตร์ (มีสปอยล์)
ในตอนที่ 3 ของซีรีส์จะขยายเรื่องราวไปถึงที่มาของสารเสพติดโครโนล ที่ในภาพยนตร์เป็นของหายากที่ว่ากันว่ามาจากก “กากอุตสาหกรรม” และใช้เป็นของจูงใจให้ตัวละครในภาพยนตร์ใช้เพื่อการก่อกบฎให้ได้สำเร็จ รวมถึงเป็นวัตถุระเบิดร้ายแรงอีกด้วย ซึ่งในซีรีส์จะขยายที่มาส่วนนี้รวมไปถึงขั้นว่ามีพ่อค้ายาเสพติดที่มีอิทธิพลหากินอยู่ในขบวนรถไฟ
ระบบเศรษฐกิจในรถไฟ
ในภาพยนตร์จะเราจะได้เห็นกลุ่มคนในตู้ชั้น 1 ใช้ชีวิตแบบฟุ้งเฟ้อ มีการเล่นพนันในรถไฟ แต่ในยุคนั้นสิ่งใดที่มีมูลค่าแลกเปลี่ยนกันได้นอกจากสารเสพติดโครโนลก็ไม่ได้มีบอกไว้ ในซีรีส์จึงขยายจุดนี้เพิ่มมาในตอน 3 อธิบายถึงระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนสิ่งของส่วนตัวของแต่ละคนที่มีมูลค่าแตกต่างกัน อย่างเช่น แหวนแต่งงานที่มีค่าหายาก ก็ถูกนำไปแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งอื่นกลับมาได้ และสิ่งของเหล่านี้ก็ค่อยๆ เปลี่ยนมือไปจนถึงมือคนตู้ชั้น 1 เพื่อนำมาใช้ในเกมการพนันของตัวเอง
ลิ้นหรือชักคุกคืออะไรกันแน่ (มีสปอยล์)
ในภาพยนตร์เราจะได้เห็นว่าจุดเริ่มของการปฏิวัติคือการบุกไปช่วยวิศวกรผู้ออกแบบประตูเชื่อมรถไฟแต่ละโบกี้ แต่ในซีรีส์ตอนนี้การผ่านประตูแต่ละด่านใช้แคปซูลยืนยันตัวตนที่ฝังไว้ในร่างกายแทน และซีรีส์ได้ลงรายละเอียดเรื่องลิ้นชักไว้ว่าเป็นการทดลองของวิลฟอร์ดที่ออกแบบลิ้นชักให้เหมือนเครื่องพยุงชีพเหมือนจำศีลรอวันปลุกให้ตื่น เพื่อช่วยมนุษย์ชาติขั้นสุดท้ายหากระบบในนิเวศน์ในรถไฟล้มเหลว
สรุป
ตัวซีรีส์ทำได้โอเคสำหรับคนที่ไม่เคยดูภาพยนต์มาก่อนน่าจะเหมือนได้เห็นอะไรใหม่ๆ สนุกกว่า และไม่เอะใจกับจุดที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวเรื่องก็ไม่อืด ช่วงครึ่งแรกตอน 1-4 เป็นแนวสืบสวนมากกว่าการปฏิวัติชนชั้นแบบในภาพยนตร์ สำหรับคนที่ดูภาพยนตร์มาก่อนคงกังขาในหลายจุดว่าตกลงเรื่องเดียวกันแน่หรือไม่ ซึ่งก็ต้องรอดูอัพเดทกันต่อไปก่อนครับ ว่าจะต่อกันได้เนียนๆ หรือว่าตั้งใจเล่าเรื่องใหม่ทั้งหมดเลยหรือเปล่า
Comments