top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนattempt pai

American Vandal


ดูหนังฟรี

รีวิว American Vandal - สารคดีอาชญากรรม

หลาย ๆ คนที่ชอบดูภาพยนตร์หรือซีรีส์คงคุ้นเคยกับหมวด ๆ หนึ่งที่มักจะได้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ ก็คือ ‘หมวดอาชญากรรม’ ซึ่งก็เป็นหมวดหนึ่งที่มีผลงานชวนจดจำไว้หลายเรื่อง โดย Original Series จาก Netflix จะพาผู้ชมไปเจอกับคดีที่ค่อนข้างประหลาดอยู่หน่อย ๆ ทั้งคดีนักเรียนพ่นสเปรย์รูปจู๋บนรถครูทั้งหมด 27 คัน และคดีการแกล้งกันในโรงเรียนที่เกี่ยวกับเรื่องขี้ ๆ (ขี้จริง ๆ) รีวิว American Vandal


เรื่องย่อ


ณ โรงเรียนมัธยมปลาย Hanover, บนรถของคณะครูอาจารย์รวมทั้งสิ้น 27 คัน พบรอยสเปรย์สีแดงฉีดจนถ้วนทั่ว – ฉีดเป็นรูปไอ้จู๋ ไอ้จู๋อันใหญ่ ไอ้จู๋เต็มกระโปรงหน้า ไอ้จู๋เต็มกระบะหลัง ทุกคัน มีไอ้จู๋คันละหนึ่งอันไม่มีว่างเว้น – ใครเป็นตัวการก่อกวนในครั้งนี้ ดูเหมือนพวกอาจารย์จะมีคนร้ายในใจอยู่แล้ว นักเรียนหัวโจกชื่อดีแลน แม็กซ์เวลล์ เป็นคนที่ชอบเล่นตลกบ้าๆ บอๆ ในห้องเรียน จนบางครั้งทำให้อาจารย์สอนต่อไม่ได้ และเขาก็ยังเป็น ‘นักวาดไอ้จู๋’ ตัวยง


 

American Vandal เป็นซีรีส์ที่ในตอนแรกที่ผมเห็นการโปรโมต ก็รู้สึกทันทีว่า “นี่มันเชี่ยอะไรเนี่ย!”  มันเป็นซีรีส์ล้อเลียนซีรีส์ประเภท True Crime (ตามสืบอาชญากรรมจริง) ที่ได้รับความนิยมขึ้นมาในช่วงสี่ห้าปีหลัง (มีคนสืบสาวว่าความชื่นชอบสารคดีประเภท True Crime นี้น่าจะก้าวเข้ามาสู่เมนสตรีมหลังจากที่พอดแคสท์ Serial ได้รับความนิยม)


นอกจากซีรีส์ประเภท True Crime จะทำให้เรารู้สึกได้บริหารสมองแล้ว มันยังกระตุ้นเร้าอารมณ์พวกเราอย่างช่วยไม่ได้ด้วย เราอาจตะโกนขึ้นมาขณะดู American Crime Story: The People v O.J. Simpson ว่า เฮ้ยยย ทำไมระบบยุติธรรมมันเชี่ยอย่างนี้


หรือเราอาจหงุดหงิดและเห็นใจไปกับครอบครัวในซีรีส์​ Making a Murderer ด้วยความที่ซีรีส์ True Crime ดูจะตอบสนองทั้งสมองและหัวใจเช่นนี้ มันจึงได้รับทั้งความนิยม และได้รับทั้ง ‘กล่อง’ ด้วย

เมื่อ True Crime ได้รับความนิยม จึงไม่แปลกที่จะมีคนนำ ‘ฟอร์แมต’ ของมันมาล้อเลียน และ American Vandal ก็เป็นผลจากความพยายามล้อเลียนนั้น


ตัวซีรีส์ดูหนังฟรีใช้วิธีนำเสนอแบบ Mockumentary หรือสารคดีปลอม (สารคดีที่เป็นการจัดฉากขึ้นมา) โดยรูปแบบการนำเสนอในเรื่องดู ๆ ไปคล้ายจะกำลังล้อเลียนกับรูปแบบ Documentary แบบ True-crime อยู่ ที่มีการเล่าเรื่องโดยการหยิบคดีที่เคยถูกพูดถึงกันเป็นวงกว้างในอดีตมาทำเป็นสารคดี มีการสัมภาษณ์คนใกล้ชิดหรือผู้เกี่ยวข้องกับตัวอาชญากรพร้อมกับเล่าเรื่องราวความเป็นไปของเหตุการณ์


ซึ่งวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบการเล่าเรื่องของสารคดีเรื่องนี้ก็ทำออกมาได้น่าเชื่อจริง ๆ ทั้งฟุตเทจของตัว Subject ในวัยเด็ก หรือวิดีโอประกอบเหตุการณ์ที่ถ่ายมาให้อารมณ์เหมือนถ่ายมาจากเหตุการณ์จริง เช่น ฟุตเทจจากมือถือ หรือกล้องวงจรปิด


ทั้ง 2 ซีซั่นหนังใหม่ชนโรงนี้จะแยกจากกันเป็นคนละคดี โดยมี ปีเตอร์ และแซมเป็นผู้ถ่ายทำและคอยดำเนินเรื่อง ส่วนในด้านอารมณ์ของเรื่องก็เหมือนกับสารคดีอาชญากรรม มีการหาหลักฐาน หาแรงจูงใจ การสัมภาษณ์ การโยงเหตุการณ์ โดยทั้ง 2 ซีซั่นก็จะมีประเด็นที่เน้นแตกต่างกัน


เนื้อหาซีซั่นแรก


“ลองคิดดูว่า คนประเภทไหนจะไปพ่นสีรูปไอ้จู๋ใส่รถกลางลานจอดรถครู คนแบบนี้จะมีหน้าตาอย่างไร คบหากับคนแบบไหน นั่งอยู่มุมไหนของโรงอาหาร สอบได้เกรดเท่าไร” คือคำโปรยของสารคดีที่เล่าถึงคดีทำลายทรัพย์สินของ Hanover High School โดยเหตุการณ์มีอยู่ว่า รถของครูทั้งหมด 27 คันถูกพ่นสเปรย์สีแดงรูปจู๋ขนาดใหญ่


ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีหลักฐานชี้ไปที่ใครเนื่องจากกล้องวงจรปิดซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่บันทึกแหตุการณ์ทั้งหมดไว้ถูกลบออก แต่ทางโรงเรียนก็ได้ไล่ ‘ดีแลน แม็กซ์เวลล์’ เด็กนักเรียนคนหนึ่งออกจากโรงเรียนเนื่องจากมีเด็กนักเรียนอีกคนที่อ้างว่าได้เห็นเหตุการณ์ ประกอบกับบุคลิกของดีแลนที่เป็นเด็กที่ชอบเล่นอะไรไร้สาระก่อกวนคนอื่น


และขึ้นชื่อว่าเป็นนักเรียนที่ชอบวาดรูปจู๋เป็นประจำอยู่แล้ว ทางโรงเรียนจึงได้ไล่เขาออกทั้ง ๆ ที่ไม่มีหลักฐานอะไรเลย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ไปกระตุ้นให้ ‘ปีเตอร์’ และ ‘แซม’ เกิดความต้องการที่จะหาความจริงของเบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ผ่านการถ่ายทำสารคดี


การดำเนินเรื่อง


ตัวซีรีส์จะพาเราไปสำรวจเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการสัมภาษณ์เด็กนักเรียนคนอื่น ๆ ในโรงเรียน เหล่าครู บุคคลที่เกี่ยวข้อง และคนใกล้ตัวของดีแลนด้วยมุมมองที่เป็นกลาง และนำเรื่องราวทั้งหมดมาร้อยกันเป็นความจริงตามหลักเหตุผล ซึ่งแน่นอนว่าในเหตุการณ์ทั้งหมดนี้คนส่วนใหญ่จะเล่าผ่านมุมของตัวเอง


มีทั้งพูดโกหก พูดไม่หมด และพูดเกินความเป็นจริง จนเกิดเป็นจุดขัดแย้งให้เรื่องต้องขุดลึกลงไป ซึ่งนี่เป็นเพียงด้านหนึ่งของซีรีส์เรื่องนี้เท่านั้น เพราะระหว่างที่เรื่องดำเนินไป ตัวซีรีส์ก็กำลังพูดถึงความเป็นตัวตน ทั้งตัวตนที่เป็นตัวตนของเราจริง ๆ และความเป็นตัวตนของเราผ่านสายตาของคนอื่น

รีวิว American Vandal

สังคมของ High School


สิ่งที่สะท้อนออกมาจากการสัมภาษณ์เด็กนักเรียน และคุณครู ก็คือสังคมของ High School ที่มีทั้งความอยากและพยายามที่จะสร้างตัวตนที่ได้รับการยอมรับจากคนอื่นของทั้งนักเรียนและคุณครู หรือความอคติที่ไม่ว่านักเรียนหรือคุณครูเมื่อได้อคติใครแล้วก็จะพูดถึงด้านลบของอีกฝ่ายได้ไม่ต่างกัน ไม่ว่าอีกฝ่ายจะเป็นใครและด้วยสถานะแล้วมันควรทำหรือไม่ควร


โดยรวม


แม้ตัวซีรีส์จะนำเสนออย่างเป็นกลางด้วยการ ‘หาความจริง’ ไม่ใช่ ‘หาความจริงเพื่อช่วยดีแลน’ เพราะตัวสารคดีที่ถ่ายทำก็นำเสนอทุกมุมของดีแลนจริง ๆ ซึ่งพฤติกรรมของเขาก็ชวนให้สงสัยจริง ๆ ว่าเขาได้พ่นสเปรย์รูปจู๋หรือเปล่า เพราะเขาทั้งชอบเล่นอะไรแผลงๆ เพื่อความสนุกของตัวเองโดยไม่สนว่าคนอื่นจะชอบหรือเดือดร้อนหรือไม่


และยังชอบวาดไอจู๋ไปทุกๆ ที่ ทั้งกระดานไวท์บอร์ด ไปจนถึงกระดาษข้อสอบของเขาเอง แต่ก็ต้องยอมรับว่าทางโรงเรียนไล่เขาออกจากคำตัดสินที่มองแค่ภาพลักษณ์ของเขาเท่านั้น ซึ่งตัวซีรีส์ได้พูดถึงประเด็นเรื่องการตัดสินคนอย่างง่ายๆ ด้วยภาพลักษณ์เท่านั้น ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้จักคนๆ นั้นเลยด้วยซ้ำ

เพราะบางคนที่เข้าข่ายว่าสามารถก่อเหตุครั้งนี้ได้ แต่ก็หลุดโผผู้ต้องสงสัยไปอย่างสิ้นเชิง เพียงเพราะเขาเป็นคนที่อยู่แต่ในกรอบและมักไม่ทำอะไรแผลงๆ ซึ่งมันชวนให้ทั้งดีแลนและคนดูสารคดีนี้คิดว่าเราเป็นใครกันแน่ เราเป็นเราจากสิ่งที่เราคิดว่าเราเป็น หรือเราเป็นคนที่คนอื่นคอยบอกว่าเราเป็นกันแน่


สรุป


อาจไม่ใช่ซีรีส์สำหรับทุกคน (มีบางคนที่ผมรู้จัก ที่ไม่สามารถดูซีรีส์แบบ ‘สารคดีปลอม’ หรือ mockumentary ได้เลย) มันอาจวกวนและไม่ไปไหนในบางจุด หรือคุณอาจรู้สึกว่า “นี่มันเชี่ยอะไรเนี่ย วิเคราะห์ไอ้จู๋อยู่นั่นแหละโว้ย” ในบางตอน แต่ด้วยความที่มันจริงจังในเรื่องที่ไม่ควรจริงจังนี้เอง ที่ทำให้เผลอแป๊บๆ ผมก็ดูมันจนจบแปดตอนไม่เหลือ


ที่ต้องชื่นชมอีกอย่างคือ ผมคิดว่านี่เป็นซีรีส์ที่สะท้อนภาพไฮสคูลในตปท. ได้ดีจริงๆ มีตัวละครบางตัวเป็นเซเล็บทวิตซ์ มีการพูดถึง ‘การเก็บแต้ม’ (การไปถึง second base, third base) แบบที่รู้สึกเป็นธรรมชาติ พูดถึง ‘การเลื่อนชั้นทางสังคม’ ที่ทำให้เราอาจนึกถึงหน้าเพื่อนบางคนขึ้นมา ฯลฯ


นอกจากมีมุกบ้าๆ บอๆ อย่างมุกไอ้จู๋ (ที่เอาเข้าจริงก็ไม่ได้ ‘ห่าม’ อย่างที่คิด) แล้ว American Vandal ยังอาจทำให้คุณตั้งคำถามกับ ‘สังคมจับแพะ’ และ ‘การเชื่อโดยไม่มีหลักฐาน’ ยิ่งไปกว่านั้นมันอาจทำให้คุณกังขากับพลังของสื่อ ว่าสามารถชี้ซ้าย-ชี้ขวาได้ตามใจขนาดไหน สื่อสามารถ ‘สร้างเรื่อง’ เพื่อให้เราเอาใจช่วยใครคนใดคนหนึ่งได้แค่ไหน และถ้าสื่อทำอย่างนั้น สังคมเราจะสูญเสียอะไรไป

ดู 16 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page